การค้ามนุษย์กับธุรกิจไทยในปัจจุบัน (2/4)
วันนี้เรายังพูดถึงการค้ามนุษย์ในธุรกิจไทยว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งจะคุยต่อถึงกรณีศึกษาที่ธุรกิจไทยต้องใส่ใจเรื่องนี้กันค่ะ
กรณีการจ้างแรงงานต่างด้าว เราควรมีการติดตาม หรือ traceability เข้าไปถึงต้นตอ ว่าแรงงานเขามาด้วยเงื่อนไขอะไร มาจากทางไหน ซึ่งกระบวนการตรงนี้เป็นยังไง?
คุณ Pan เล่าว่าการจ้างแรงงานข้ามชาติ มี 2 วิธี
1. นายจ้างไปติดต่อ employment agency บริษัทจัดหาแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศต้นทางเอง แล้วเข้าตามระบบ G To G ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่า กัมพูชา ลาว
2. นายจ้างจ้างบริษัทนำเข้าแรงงานในไทยให้ไปติดต่อกับ employment agency ในประเทศต้นทางอีกที
ถ้าทำทุกอย่างตามขั้นตอนที่รัฐวางไว้ แรงงานต้องเขียนใบสมัคร ต้องมีพาสปอร์ต ต้องเซ็นเอกสารก่อนข้ามชายแดนมา พอมาถึงโรงงานแล้ว ต้องไปอบรมที่ภาครัฐเขาจัดให้เพื่อทำ work permit
ถ้าเราดูจากมิติของการบังคับใช้แรงงานนี้ วิธีที่ 2 นั้นมีความเสี่ยงอยู่ เพราะแม้เราจะเห็นว่าเขามีพาสปอร์ต มีใบเสร็จ 1,000 กว่าบาท ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
“แต่สิ่งที่เราไม่เห็นคือ เขาต้องจ่ายใต้โต๊ะ จ่ายค่านายหน้าไปเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้พาสปอร์ตมาให้เร็ว”
บางคนต้องจ่ายถึง 10,000 บาท หรือบางคนที่ไม่มีบัตรประชาชนก็จะไปจ่ายเพิ่มเพื่อทำขั้นตอนนี้ให้เร็วขึ้น
สิ่งเหล่านี้แสดงว่าการจ้างแรงงานต่างด้าวฟังดูยุ่งยากมาก แต่ที่สุดแล้วประเทศไทยเราก็ต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าว อย่างกลุ่มเรือประมง หรือกลุ่มธุรกิจอาหาร ซึ่งคุณ Pan เล่าว่าจากการทำวิจัยก็เจอนายจ้างหลายคนบอกว่า การจ้างแรงงานข้ามชาติยุ่งยาก ถ้าเลือกได้ไม่อยากจ้างแรงงานข้ามชาติแล้ว แต่ความจริงคือ ตอนนี้แรงงานในไทยค่อนข้างขาดแคลน โดยเฉพาะในโรงงานที่คนไทยไม่อยากทำ
ในส่วนของปัญหาแรงงานเด็ก เราจะเห็นข่าวว่าไทยมีการใช้แรงงานเด็กในอุตสาหกรรมน้ำตาล ในอุตสาหกรรมการเกษตรเยอะ
มันเป็นแรงงานเด็กจริง ๆ หรือเป็น perception ที่ผิดของต่างประเทศที่อาจไม่คุ้นว่าจริง ๆ แล้วอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรมของไทยเป็นอุตสาหกรรมครอบครัวกันแน่?
คุณ Panได้อธิบายว่า แรงงานเด็กมี 2 มิติ
มิติแรก คือ แม้ไทยและพม่ามีกฎหมายเหมือนกันว่าห้ามส่งออกแรงงานที่อายุต่ำกว่า 18 ปี แต่มีกรณีศึกษาว่า ในกัมพูชาเด็กบางคนที่ไม่มีสูติบัตร หรือมีแต่อายุยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่จะส่งออกได้ เขาจะไปให้ผู้ใหญ่บ้านเขียนสูติบัตรใหม่ได้ หรือมี broker ที่อยู่ตามพาสปอร์ตออฟฟิศในพม่า ที่ช่วยเขียนสูติบัตรหรือว่าทำ National ID ขึ้นมาใหม่ได้ จึงกลายเป็นความเสี่ยงทำให้อาจมีแรงงานเด็กแฝงใน supply chain
ตอนนี้ resolution คือ ต้องมีการตรวจเอกสารอย่างน้อย 2 ฉบับ สูติบัตร+พาสปอร์ต หรือสูติบัตร+พาสปอร์ต+เอกสารอีกใบก็ได้ เพื่อป้องกัน
มิติที่สอง คือ ความเสี่ยงตามลักษณะอุตสาหกรรมที่มีอยู่ ซึ่งจะคลุมเครือกันว่าเขาเป็นแรงงานจริงหรือว่าธุรกิจครอบครัว เช่น ฟาร์มกุ้ง ส่วนใหญ่จะพาครอบครัวมาอยู่ในฟาร์มกุ้งด้วย บางทีลูกก็อยากช่วยพ่อแม่ คนที่ดูแลฟาร์มกุ้งไม่ควรให้เด็กมาทำงานตรงนี้ เพราะอาจกลายเป็นว่าได้ประโยชน์จากแรงงานของเด็ก อีกอย่างคือเด็กอาจเข้าใกล้สารเคมีในฟาร์มกุ้ง ซึ่งจะทำให้ประเด็นความเสี่ยงพุ่งขึ้นไปอีก จากการแบ่งความเสี่ยงเป็น 2 แบบ คือ หนึ่ง-การใช้ child labor และ สองคือ worst forms of child labor ก็คือเป็น child labor ที่มีความเสี่ยงต่อสารเคมี และลักษณะงานที่อันตรายมาก ๆ ทางแก้คือ ต้องแบ่งพื้นที่ให้ชัดเจนว่า นี่คือที่พัก นี่คือที่ทำงาน แล้วคุมไม่ให้เด็กไปอยู่ในที่ทำงาน แล้วก็ไม่ทำงานตรงนั้นด้วย
วันนี้เราก็ได้ความรู้มากขึ้น เห็นภาพมากขึ้นว่าการใช้แรงงานของธุรกิจเราเข้าข่ายหรือเปล่า หรือเกือบ ๆ นะ จะได้แก้ปัญหาทัน
พรุ่งนี้จะคุยต่อในเรื่องวิธีแก้ปัญหา และบทบาทของแต่ละภาคส่วนว่าเป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ