การค้ามนุษย์กับธุรกิจไทยในปัจจุบัน (1/4)
ตอนนี้เป็นตอนพิเศษ เป็นครั้งแรกที่มีแขกรับเชิญ ช่วงนี้เป็นช่วงโควิท-19 อยากจะชวนเพื่อนๆ ที่รู้จักมาช่วยให้ความเห็นและแชร์ประสบการณ์ในการทำงานในเรื่องความยั่งยืนว่ามันมีอะไรบ้างค่ะ
โดยเริ่มที่เรื่องความยั่งยืนด้านแรงงาน กับคุณ Pan Roque ซึ่งทำเรื่องแรงงานมาประมาณ 5 ปี ที่เอ็นจีโอ ชื่อ verité ในอเมริกา
คุณ Pan ได้ปูพื้นให้เห็นภาพแรงงานประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น forced labor หรือ slave labor ว่า จริง ๆ ทาสในปัจจุบันจะเป็นเทอมที่ค่อนข้างกว้าง จะเป็นการใช้แรงงานบังคับก็ได้ หรือการบังคับใช้แรงงานโดยรัฐ การบังคับสมรส sex trafficking อื่น ๆ ก็ได้ ตอนนี้มีสถิติคนที่ถือว่าอยู่ในแรงงานบังคับประมาณ 45 ล้านคน และ 15 ล้านคน เป็นการบังคับสมรส
เราจะคุยเน้นที่การใช้แรงงานบังคับ forced labor และ modern slavery ที่พูดถึงในยุโรปค่อนข้างกว้าง ถ้าเราจะส่งของไปที่ยุโรปเราต้องมีการดูแลเรื่องเหล่านี้ ซึ่งปัญหาเรื่องแรงงาน เรื่องสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน เงื่อนไขการจ้างงานต่างๆ จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์หรือการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจอย่างไร?
คุณ Pan อธิบายโดยเริ่มจากคำจำกัดความและยกตัวอย่างว่า
“แรงงานบังคับ คือเป็นงานหรือบริการทุกชนิดที่เกณฑ์เอาจากคนใด ๆ ก็ตาม
โดยการขู่เข็ญว่าจะลงโทษหรือซึ่งบุคคลนั้นไม่ได้มีความสมัครใจ”
ตอนนี้แรงงานบังคับมีการเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาออกไป ถ้าหากนายจ้างหรือธุรกิจไม่เข้าใจตรงนี้ อาจมีความเสี่ยงในธุรกิจโดยไม่รู้ก็ได้
ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการขู่ว่า ถ้าแรงงานทำของเสียจะมีการลงโทษทางการเงิน ความเสี่ยงอยู่ที่ว่าถ้าหากแรงงานทำงานไปแล้วมีผลเสียหรือมีอัตราการเสียของของที่ผลิตเยอะ เขาอาจไม่ได้รับเงินตามค่าแรงขั้นต่ำก็ได้ นี่เป็นหนึ่งในความเสี่ยงของธุรกิจที่เข้าข่ายใช้แรงงานบังคับ
การอยู่ในสภาวะขัดหนี้ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดแรงงานแบบบังคับ ยิ่งตอนนี้ไทยต้องใช้แรงงานข้ามชาติจากพม่า กัมพูชา ลาว ค่อนข้างมาก แล้วกว่าที่แรงงานเหล่านี้จะข้ามเข้ามาทำงานในไทยได้ ก็ต้องจ่ายค่านายหน้าหลายคน รวม ๆ แล้วถึง 30,000-35,000 บาท
ถ้าคิดเป็นเงินที่เขาได้ในไทยก็น่าจะประมาณ 3 เดือนถึง 3 เดือนครึ่ง ดังนั้นแม้ว่าคนงานเขาไม่อยากทำงานกับเราแล้วเขาก็จำเป็นต้องทำ เพราะเขามีหนี้สินที่เกิดขึ้นมาจากขั้นตอนการจ้างงานตรงนี้
ถ้าดูภาพรวมในเมืองไทย กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิส์ถือว่าก้าวหน้ามากในเรื่องประเด็นแรงงาน เพราะมี response business alliance เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มธุรกิจในภาคอิเล็กทรอนิกส์ที่มาตั้งมาตรฐานว่า ถ้าคุณเป็น supplier ใน supply chainในอิเล็กทรอนิกส์ คุณต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบพื้นฐานตรงนี้ ซึ่งพัฒนากันมาหลาย 10 ปีแล้ว ก็มีความก้าวหน้าค่อนข้างมาก แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเขาไม่มีความเสี่ยงตอนหน้า เราจะมาคุยต่อเรื่องตัวอย่างและแรงผลักดันให้ธุรกิจในไทยต้องสนใจเรื่องการค้ามนุษย์ในห่วงโซ่อุปทานของตัวเองมากขึ้นค่ะ