Episode 261

การค้ามนุษย์กับธุรกิจไทยในปัจจุบัน (4/4)

SOS – EP259 การค้ามนุษย์กับธุรกิจไทยในปัจจุบัน (4/4)

วันนี้เรายังคุยกันเรื่องการค้ามนุษย์หรือแรงงานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในธุรกิจ จากการทำงานที่เจอเอง เรื่อง human rights เป็นประเด็นค่อนข้างใหม่ในเชิงธุรกิจ ธุรกิจก็จะถามว่าเกี่ยวอะไรกับฉัน? 

ตอนสุดท้ายนี้เราจะคุยถึงเรื่องวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งค่อนข้างซับซ้อนมาก เมื่อถามว่าถ้าจะแก้ไขปัญหาเรื่องการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรมที่ยังมีอยู่ในหลาย ๆ ประเทศนี้ ใครควรต้องมีบทบาทบ้าง แล้วก็ทำอะไรบ้าง ?

คุณ Pan ยอมรับว่าตอบยากมาก จริง ๆ รัฐบาลไทยก็มีการขับเคลื่อนค่อนข้างรวดเร็ว พยายามเปลี่ยนลักษณะการทำงานที่เราทำกันมา 30-40 ปีแล้ว ภายในเวลา 4-5 ปีนี้ 

ยกตัวอย่างการแก้ปัญหาสภาวะแรงงานขัดหนี้

รัฐบาลไทยได้ลดค่าใช้จ่ายของ visa work permit ลงเกิน 2 เท่าแล้ว แต่ค่าใช้จ่ายจากประเทศต้นทางก็ยังมีสูง 

ดังนั้นต้องมีการปรับกระบวนสรรหาแรงงานจากประเทศพม่า กัมพูชา ลาว เพื่อให้ลดความเสี่ยงเรื่องค่าใช้จ่ายลง รวมทั้งลดความเสี่ยงด้านปัญหาที่คนงานไม่ทราบหรือได้ข้อมูลที่ผิดพลาดว่าเขาจะต้องเข้ามาทำงานอะไรในไทย ซึ่งตรงนี้แม้มีกระบวนการทำงานระหว่างประเทศที่ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้ว แต่ขั้นตอนค่อนข้างเยอะ ใช้เวลานาน จึงเป็นช่องทางให้เกิดเป็นปัญหาเรื้อรัง

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่าง ๆ ที่แรงงานอาจพบในขั้นตอนการจ้างงานนี้ สุดท้ายคนต้องรับผิดชอบ ก็คือ นายจ้าง เพราะว่าตามกฎหมายหลาย ๆ กฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องการค้ามนุษย์ คุณไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ค้า แต่ถ้าคุณเป็นผู้รับแรงงานที่ถูกค้ามาแล้ว ก็มีความผิดตรงนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นอันนี้ซับซ้อนมาก 

ตอนนี้ถึงแม้ว่าจะมีการนำเข้าแรงงานตามรูปแบบที่รัฐบาลตั้งไว้ แต่ไทยเรามีแรงงานที่มีสถานะทางกฎหมายแตกต่างกัน มีเอกสารที่แตกต่างกัน ซึ่งได้มาจากนโยบายในการบริหารแรงงานที่เปลี่ยนไปค่อนข้างเร็ว เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรจะต้องทำความเข้าใจ เพื่อจะได้ออกแบบกระบวนการ หรือออกนโยบายมาลดความเสี่ยงตรงนี้ให้ได้อย่างแท้จริง

ในบทบาทของผู้บริโภคจะทำอะไรได้บ้าง ?

คุณ Pan บอกว่านี่เป็นคำถามที่ตอบยากที่สุด เพราะตอนนี้ทางภาคธุรกิจยังไม่มี certification system แบบ 100 % แล้วความเสี่ยงด้านแรงงานก็ขยับพัฒนาไปค่อนข้างเร็ว แม้ในอเมริกาจะมีหลายเคสที่ผู้บริโภครวมตัวกันฟ้องบริษัทที่ยังไม่ได้ปฎิบัติเพียงพอในการลดความเสี่ยงด้านการค้ามนุษย์ กับการใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม แต่สุดท้ายหลายบริษัทก็ชนะ ก็หลุดไป

ในฐานะผู้บริโภค เราต้องเข้าใจความเสี่ยงในการบริโภคของเราเอง

เราเข้าไปดูเลยว่าอุตสาหกรรมนี้มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง ถ้าภาคธุรกิจเห็นว่าผู้บริโภคในเมืองไทยมีการตื่นตัว ก็จะเลือกที่จะบริโภคสินค้าที่ไม่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนทุกรูปแบบ ตรงนี้มันจะสร้างแรงผลักดันได้มากเหมือนกัน เพื่อภาคธุรกิจจะได้รู้ว่าถ้าลงทุนไปกับการแก้ปัญหาด้านความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานหรือด้านสิ่งแวดล้อม จะมีตลาดที่สามารถเข้าไปขายได้ 

เรียกได้ว่าหากผู้บริโภคตื่นตัว ก็จะช่วยเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจออกมาขยับตัวทำเรื่องนี้อย่างจริงจังมากขึ้น แล้วก็เชื่อว่าจะสามารถสร้างกำไรได้ในอนาคต แล้วเป็นกำไรที่ยั่งยืนด้วย 

Categories Allgemein

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this:
search previous next tag category expand menu location phone mail time cart zoom edit close